วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องเพลงกล่อมเด็ก

แผนการจัดการเรียนรู้วิชา ท ๒๑๑๐๒ ภาษาไทย ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หน่วยการเรียนรู้เรื่องเพลงพื้นบ้าน หัวข้อเรื่อง เพลงกล่อมเด็ก
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เวลา ๙ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวขนิษฐา นาคีสินธุ์ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ สอนวันที่ ๑ – ๑๙ กุมภาพันธ์ 2553


สาระสำคัญ
เพลงกล่อมเด็กเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ ใช้ภาษาเป็นการสื่อในการถ่ายทอดซึ่งแพร่หลายแทบทุกชาติทุกภาษาทั่วโลก เพลงกล่อมเด็กเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นต่างๆ

จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนบอกลักษณะของเพลงกล่อมเด็กแต่ละภาคได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนของการจัดทำโครงงานได้ถูกต้อง
๓. นักเรียนเขียนนำเสนอผลการจัดทำโครงงานที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง

สาระการเรียนรู้
๑. เนื้อหาเพลงกล่อมเด็ก
๒. ฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนของการจัดทำโครงงาน
๓. เขียนนำเสนอผลการจัดทำโครงงาน


กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑
ขั้นนำ:
ครูสอบถามนักเรียนถึงเรื่องของเพลงพื้นบ้าน และบอกนักเรียนว่าชั่วโมงนี้จะเรียนเรื่องเพลงกล่อมเด็ก ซึ่งเป็นหน่วยสุดท้ายของการเรียนในภาคเรียนนี้
ขั้นสอน: ครูแจกเอกสารเรื่องเพลงกล่อมเด็กให้นักเรียนคนละ ๑ ฉบับ จากนั้นให้นักเรียนอ่าน จากนั้นครูอธิบายเนื้อหา และถามนักเรียนเป็นระยะ
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องเพลงกล่อมเด็ก




ชั่วโมงที่ ๒
ขั้นนำ:
ครูทบทวนเนื้อหาในชั่วโมงที่แล้ว
ขั้นสอน : ครูให้นักเรียนดูวีดีโอ เพลงกล่อมเด็กทั้ง ๔ ภาค จากนั้นให้นักเรียนร้องเพลงกล่อมเด็ก
ขั้นสรุป: ครูเพลงกล่อมเด็กทั้ง ๔ ภาค ว่าแตกต่างกันอย่างไร

ชั่วโมงที่ ๓
ขั้นนำ:
ครูสอบถามนักเรียนว่าเคยเรียนการทำโครงงานมาบ้างแล้วหรือไม่
ขั้นสอน: ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มๆละ ๕-๖ คน
ครูแจกเอกสารเค้าโครงร่างการทำโครงงาน และตัวอย่างโครงงาน กลุ่มละ ๑ ฉบับ จากนั้นให้นักเรียนศึกษาเนื้อหา และฟังครูอธิบาย
ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปสำรวจเพลงกล่อมเด็กในพื้นที่ หรือในหมู่บ้านของตนเองเพื่อนำมาทำโครงงานในชั่วโมงหน้า
ขั้นสรุป: ครูสรุปในเรื่องของงานที่สั่ง


ชั่วโมงที่ ๔
ขั้นนำ:
ครูสอบถามนักเรียนว่าจากการไปสำรวจเพลงพื้นบ้านมาแล้วนักเรียนได้ข้อมูลอะไรบ้าง และมีปัญหาหรืออุปสรรคบ้างหรือไม่
ขั้นสอน: ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือทำเริ่มจากการเขียนเค้าโครงร่างของโครงงานก่อน เช่น ตั้งชื่อโครงงาน หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมาย เป็นต้น
ขั้นสรุป: ครูให้นักเรียนกลับไปช่วยกันคิดและทำในส่วนที่เหลือเท่าที่ทำได้


ชั่วโมงที่ ๕-๘
ครูให้นักเรียนทำโครงงานต่อจนเสร็จ ครูช่วยในการให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะแก่นักเรียน โครงงานของทุกกลุ่มจะต้องเป็นรูปเล่ม ส่งภายในสัปดาห์สุดท้ายของการเรียน



ชั่วโมงที่ ๙
ขั้นนำ : ครูสอบถามนักเรียนกลุ่มใดยังทำงานไม่เสร็จ
ขั้นสอน : ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอโครงงานหน้าชั้น ให้เวลากลุ่มละไม่เกิน ๕ นาที
ขั้นสรุป : ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปประเด็นต่างๆจากการสำรวจเพลงพื้นบ้าน และความรู้ที่ได้รับจากการทำโครงงาน


สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
๑. เค้าโครงร่าง และตัวอย่างโครงงาน
๒.วีดีโอเพลงกล่อมเด็ก
๓. ตัวอย่างรูปเล่มโครงงาน


การวัดและประเมินผล
๑. วัดผลการทำโครงงานเป็นรายกลุ่ม
๒. สังเกตความสนใจ และการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อต่างๆ

แผนการจัดการเรียนรู้วิชา ท ๒๑๑๐๒ ภาษาไทย ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หัวข้อเรื่อง การเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่างๆ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เวลา ๓ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวขนิษฐา นาคีสินธุ์ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ สอนวันที่ ๒๕ – ๒๙ มกราคม 25
53

สาระสำคัญ
การเขียนคือการถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกนึกคิด และประสบการณ์ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้อื่นได้ทราบโดยการอ่าน การเขียนในลักษณะนี้จึงเป็นทักษะการส่งสารเพื่อให้เกดความรู้ ความเข้าใจตรงตามจุดประสงค์


จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่างๆได้
๒. นักเรียนมีมารยาทในการเขียน
๓. นักเรียนพูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่างๆได้


สาระการเรียนรู้
๑. การเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่างๆ
๒. การพูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่างๆ


กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑
ขั้นนำ:
ครูกล่าวคำทักทายนักเรียน และสอบถามนักเรียนว่าทราบหรือไม่ว่าการเขียนมีความสำคัญอย่างไร
ขั้นสอน: ครูให้นักเรียนอ่านทำความเข้าใจในเรื่องของการเขียนจากหนังสือเรียนภาษาไทย หน้า ๑๐๑
จากนั้นครูอธิบายความหมาย ความสำคัญ จุดมุ่งหมาย และมารยาทในการเขียนให้นักเรียนฟัง และซักถามนักเรียนเป็นรายบุคคล
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องการเขียน และสั่งการบ้าน คือ ให้นักเรียนหาบทความ บทบรรณาธิการ หรือคอลัมน์ต่างๆ ในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร โดยให้ตัดแปะลงในกระดาษA๔ เพื่อนำมาเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่างๆในชั่วโมงต่อไป

ชั่วโมงที่ ๒
ขั้นนำ: ครูทบทวนเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงที่แล้ว
ขั้นสอน : ครูอธิบายการเขียนแสดงความคิดเห็นให้นักเรียนฟัง และให้นักเรียนนำงานที่สั่งให้ทำการบ้านขึ้นมา แล้วลงมือเขียนแสดงความคิดเห็นว่าสื่อนั้นมีความน่าเชื่อถือ หรือมีเนื้อหาโน้มน้าวใจหรือไม่ เพราะอะไร
ขั้นสรุป: ครูสอบถามว่าใครยังทำงานไม่เสร็จ และให้นักเรียนฝึกพูดแสดงความคิดเห็นจากสื่อที่นักเรียนได้ทำ เพราะชั่วโมงหน้าครูจะสุ่มนักเรียนออกมาพูดหน้าชั้น


ชั่วโมงที่ ๓
ขั้นนำ:
ครูสอบถามนักเรียนว่าได้ลองฝึกพูดมาบ้างแล้วหรือยัง
ขั้นสอน: ครูสุ่มเรียกชื่อนักเรียนออกมาพูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่างๆหน้าชั้นจำนวน ๑๕ คน
ใช้เวลาคนละประมาณ ๑๕ นาที
ขั้นสรุป: ครูสรุปสาระสำคัญจากเรื่องที่นักเรียนออกมาพูด และบอกถึงหน่วยการเรียนต่อไป


สื่อและแหล่งเรียนรู้
๑. หนังสือเรียนภาษาไทย
๒. หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ


การวัดและประเมินผล
๑. วัดผลการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่างๆ
๒. วัดผลการตอบคำถาม และการแสดงความคิดเห็น
๓. สังเกตความสนใจ และการมีส่วนร่วมในการเรียน
๔. การพูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่าง

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

แผนการเรียนรู้ เรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

แผนการจัดการเรียนรู้วิชา ท ๒๑๑๐๒ ภาษาไทย ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หน่วยการเรียนรู้เรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หัวข้อเรื่อง ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เวลา ๔ชั่วโมง
สอนวันที่ ๑๘ - ๒๒ มกราคม ๒๕๕๓
ผู้สอน นางสาวขนิษฐา นาคีสินธุ์ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์

สาระสำคัญ
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงจารึกเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๖ ด้วยตัวอักษรที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชประดิษฐ์ขึ้น ด้านที่เรียนนี้คือด้านที่ ๑ และด้านที่ ๔

จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนอ่านออกเสียงร้อยแก้วได้ถูกต้อง
๒.นักเรียนสามารถเขียนแสดงความคิดเห็นจากเรื่องได้
๓.นักเรียนมีมารยาทในการเขียน


สาระการเรียนรู้
๑. ประวัติความเป็นมา ผู้แต่ ความมุ่งหมายในการแต่ง และลักษณะการแต่ง
๒. เนื้อหาสาระในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑
๓. การเขียนคำในปัจจุบัน และในสมัยพ่อขุนรามคำแหง


กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑
ขั้นนำ: ครูกล่าวคำทักทายนักเรียน และสอบถามนักเรียนว่าเคยเห็นศิลาจารึกหรือไม่ ถ้าเคยเห็น ศิลาจารึกมีกี่ด้าน และบอกนักเรียนว่าชั่วโมงนี้จะเรียนเรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง
ขั้นสอน: ครูอธิบายประวัติความเป็นมา ผู้แต่ ความมุ่งหมายในการแต่ง และลักษณะการแต่ง และซักถามนักเรียนเป็นระยะ
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปประวัติความเป็นมา ผู้แต่ ความมุ่งหมายในการแต่ง และลักษณะการแต่ง และให้นักเรียนอ่านเนื้อเรื่องมาล่วงหน้า


ชั่วโมงที่ ๒
ขั้นนำ:
ครูสอบถามนักเรียนว่าได้อ่านเนื้อเรื่องมาหรือไม่ และบอกว่าวันนี้จะเรียนในเรื่องอักขรวิธีในการเขียนคำในสมัยพ่อขุนรามคำแหง และในสมัยปัจจุบัน
ขั้นสอน : ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือหน้าเรียนหน้า ๑๘๖ เพื่อดูลักษณะการเขียนคำ และการอ่านคำในสมัยพ่อขุนรามคำแหง พร้อมทั้งอธิบายอักขรวิธีการเขียนในสมัยพ่อขุนรามคำแหง
ครูให้นักเรียนอ่านคำที่ครูเขียนบนกระดาน ซึ่งคำที่เขียนนั้นเป็นคำในสมัยพ่อขุนรามคำแหง และให้นักเรียนจดลงสมุด
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปการเขียนคำ และการอ่านคำในสมัยพ่อขุนรามคำแหง


ชั่วโมงที่ ๓
ขั้นนำ: ครูทบทวนเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงที่แล้ว
ขั้นสอน: ครูให้นักเรียนอ่านเนื้อเรื่องโดยอ่านออกเสียงร้อยแก้วคนละประมาณ ๔-๕ บรรทัด
จากนั้นครูอธิบายเนื้อเรื่องให้นักเรียนฟัง และซักถามเป็นระยะ โดยอธิบายว่าหลักศิลาจารึกมีทั้งหมด ๔ ด้าน ซึ่งนักเรียนจะได้เรียน ๒ ด้าน คือด้านที่ ๑ และด้านที่ ๔
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปคุณค่า และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง


ชั่วโมงที่ ๔
ขั้นนำ: ครูทบทวนเนื้อหา
ขั้นสอน: ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด เรื่องศิลาจารึกหลักที่ ๑ จำนวน ๒ ตอนดังนี้
ตอนที่ ๑ ให้นักเรียนศึกษาคำอธิบายคำศัพท์ และนำตัวอักษรมาเติมหน้าตัวเลข
ตอนที่ ๒ ให้เขียนความหมายของคำที่กำหนดให้
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปคุณค่า และข้อคิดที่ได้จากเรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง


สื่อและแหล่งเรียนรู้
๑. หนังสือเรียนภาษาไทย
๒. แบบฝึกหัด
๓. เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องศิลาจารึกหลักที่ ๑


การวัดและประเมินผล
๑. วัดผลการทำแบบฝึกหัด
๒. การแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของนักเรียน
๓. สังเกตความสนใจ และการมีส่วนร่วมในการเรียน

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาท ๒๑๑๐๒ภาษาไทย ๒กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หน่วยการเรียนรู้เรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หัวข้อเรื่อง คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เวลา ๔ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวขนิษฐา นาคีสินธุ์ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์

สาระสำคัญ
คำมี ๗ ชนิด ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน ในหน่วยการเรียนนี้นักเรียนจะได้เรียน๔ ชนิด คือ คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน


จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนบอกความหมายของคำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทานได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนแต่งประโยคโดยใช้คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทานได้


สาระการเรียนรู้
๑. ความหมายของคำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน
๒. ชนิดของคำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน
๓. ตัวอย่างประโยคคำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน


กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑ คำวิเศษณ์
ขั้นนำ: ครูกล่าวคำทักทายนักเรียน และบอกนักเรียนว่าวันนี้จะเรียนเรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ
ขั้นสอน: ครูอธิบายชนิดและหน้าที่ของคำว่ามี ๗ ชนิดและนักเรียนจะได้เรียน ๔ ชนิด คือ คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน แต่ในชั่วโมงนี้จะเรียนเรื่องคำวิเศษณ์ก่อน
ครูอธิบายความหมายของคำวิเศษณ์ และชนิดของคำนามว่ามี ๑๐ ชนิด และบอกลักษณะเฉพาะของคำวิเศษณ์แต่ละชนิดพร้อมยกตัวอย่าง และให้นักเรียนยกตัวอย่างประโยค
ครูให้นักเรียนทำแผนผังมโนทัศน์เรื่องชนิดของคำ วาดภาพระบายสีให้สวยงาม ให้๑๐ คะแนน
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมาย และชนิดของคำวิเศษณ์ รวมทั้งสอบถามนักเรียนว่าใครยังทำงานไม่เสร็จให้ทำเป็นการบ้านและนำมาส่งวันพรุ่งนี้

ชั่วโมงที่ ๒ คำบุพบท
ขั้นนำ: ครูสอบถามนักเรียนถึงเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงที่แล้ว และทบทวนเนื้อหา
ขั้นสอน : ครูอธิบายความหมายของคำบุพบท และชนิดของบุพบทว่ามี ๒ ชนิด และบอกลักษณะเฉพาะของ
คำบุพบทแต่ละชนิดพร้อมยกตัวอย่าง และให้นักเรียนยกตัวอย่างประโยค
ครูให้นักเรียนแต่งประโยคคำบุพบทชนิดละ ๓ ประโยค ลงในสมุดส่งภายในชั่วโมง
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมาย และชนิดของคำบุพบท รวมทั้งสอบถามนักเรียนว่าใครยังทำงานไม่เสร็จให้ทำเป็นการบ้านและนำมาส่งวันพรุ่งนี้


ชั่วโมงที่ ๓ คำสันธาน
ขั้นนำ: ครูบอกหัวข้อที่จะเรียนในชั่วโมงนี้
ขั้นสอน: ครูอธิบายความหมายของคำสันธาน และชนิดของคำ สันธานพร้อมยกตัวอย่างคำ และตัวอย่างประโยค และให้นักเรียนยกตัวอย่างคนละ ๑ ประโยคที่เป็นคำสันธานของแต่ละชนิด
ครูให้นักเรียนแต่งประโยคคำสันธานชนิดละ ๓ ประโยค ลงในสมุดส่งภายในชั่วโมง
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมาย และชนิดของคำสันธาน รวมทั้งสอบถามนักเรียนว่าใครยังทำงานไม่เสร็จให้ทำเป็นการบ้านและนำมาส่งวันพรุ่งนี้


ชั่วโมงที่ ๔ คำอุทาน
ขั้นนำ: ครูบอกหัวข้อที่จะเรียนในชั่วโมงนี้
ขั้นสอน: ครูอธิบายความหมายของคำอุทาน และชนิดของคำอุทาน พร้อมยกตัวอย่างคำ และตัวอย่างประโยค และให้นักเรียนยกตัวอย่างคนละ ๑ ประโยค
ครูให้นักเรียนแต่งประโยคคำอุทานชนิดละ ๓ ประโยค ลงในสมุดส่งภายในชั่วโมง
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมาย และชนิดของคำอุทาน รวมทั้งสอบถามนักเรียนว่าใครยังทำงานไม่เสร็จให้ทำเป็นการบ้านและนำมาส่งวันพรุ่งนี้



สื่อและแหล่งเรียนรู้
๑. หนังสือเรียนภาษาไทย
๒. แบบฝึกหัดคำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน


การวัดและประเมินผล
๑. วัดผลการทำแบบฝึกหัด และการทำแผนผังมโนทัศน์
๒. วัดผลการตอบคำถาม และการแสดงความคิดเห็น
๓. สังเกตความสนใจ และการมีส่วนร่วมในการเรียน

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องคำนาม คำสรรพนาม และคำกริยา

แผนการจัดการเรียนรู้วิชา ท ๒๑๑๐๒ ภาษาไทย ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง พระยาพิชัยดาบหัก หัวข้อเรื่อง คำนาม คำสรรพนาม และคำกริยา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เวลา ๖ ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวขนิษฐา นาคีสินธุ์ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์

สาระสำคัญ
คำมี ๗ ชนิด ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน ในหน่วยการเรียนนี้นักเรียนจะได้เรียน ๓ ชนิด คือ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา

จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนบอกความหมายของคำนาม คำสรรพนาม คำกริยาได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนแต่งประโยคโดยใช้คำนาม คำสรรพนาม คำกริยาได้

สาระการเรียนรู้
๑. ความหมายของคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา
๒. ชนิดของคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา
๓. ตัวอย่างประโยคคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา


กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑ คำนาม
ขั้นนำ ครูกล่าวคำทักทายนักเรียน และบอกนักเรียนว่าวันนี้จะเรียนเรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ
ขั้นสอน ครูอธิบายชนิดและหน้าที่ของคำว่ามี ๗ ชนิดและนักเรียนจะได้เรียน ๓ ชนิด คือ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา แต่ในชั่วโมงนี้จะเรียนเรื่องคำนามก่อน
ครูอธิบายความหมายของคำนาม และชนิดของคำนามว่ามี ๕ ชนิด และบอกลักษณะเฉพาะของคำนามแต่ละชนิดพร้อมยกตัวอย่าง และให้นักเรียนยกตัวอย่างประโยค
ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมาย และชนิดของคำนาม



ชั่วโมงที่ ๒ การแต่งประโยคคำนาม
ขั้นนำ ครูสอบถามนักเรียนถึงเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงที่แล้ว และทบทวนเนื้อหา
ขั้นสอน ครูให้นักเรียนแต่งประโยคคำนามชนิดละ ๓ ประโยค ลงในสมุดส่งภายในชั่วโมง
ขั้นสรุป ครูสอบถามนักเรียนว่าใครยังทำงานไม่เสร็จให้ทำเป็นการบ้านและนำมาส่งวันพรุ่งนี้


ชั่วโมงที่ ๓ คำสรรพนาม
ขั้นนำ ครูบอกหัวข้อที่จะเรียนในชั่วโมงนี้
ขั้นสอน ครูอธิบายความหมายของคำสรรพนาม และชนิดของคำสรรพนาม พร้อมยกตัวอย่างคำ และตัวอย่างประโยค และให้นักเรียนยกตัวอย่างคนละ ๑ ประโยคที่เป็นคำสรรพนามของแต่ละชนิด
ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมาย และชนิดของคำสรรพนาม


ชั่วโมงที่ ๔ การแต่งประโยคคำสรรพนาม
ขั้นนำ ครูสอบถามนักเรียนถึงเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงที่แล้ว และทบทวนเนื้อหา
ขั้นสอน ครูให้นักเรียนแต่งประโยคคำสรรพนามชนิดละ ๓ ประโยค ลงในสมุดส่งภายในชั่วโมง
ขั้นสรุป ครูสอบถามนักเรียนว่าใครยังทำงานไม่เสร็จให้ทำเป็นการบ้านและนำมาส่งวันพรุ่งนี้


ชั่วโมงที่ ๕ คำกริยา
ขั้นนำ ครูบอกหัวข้อที่จะเรียนในชั่วโมงนี้
ขั้นสอน ครูอธิบายความหมายของคำกริยา และชนิดของคำกริยา พร้อมยกตัวอย่างคำ และตัวอย่างประโยค และให้นักเรียนยกตัวอย่างคนละ ๑ ประโยค
ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมาย และชนิดของคำกริยา



ชั่วโมงที่ ๖ การแต่งประโยคคำกริยา
ขั้นนำ ครูสอบถามนักเรียนถึงเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงที่แล้ว และทบทวนเนื้อหา
ขั้นสอน ครูให้นักเรียนแต่งประโยคคำกริยาชนิดละ ๓ ประโยค ลงในสมุดส่งภายในชั่วโมง
ขั้นสรุป ครูสอบถามนักเรียนว่าใครยังทำงานไม่เสร็จให้ทำเป็นการบ้านและนำมาส่งวันพรุ่งนี้


สื่อและแหล่งเรียนรู้
๑. หนังสือเรียนภาษาไทย
๒. แบบฝึกหัดคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา


การวัดและประเมินผล
๑. วัดผลการทำแบบฝึกหัด
๒. วัดผลการตอบคำถาม
๓. สังเกตความสนใจ และการมีส่วนร่วมในการเรียน

แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องพระยาพิชัยดาบหัก

แผนการจัดการเรียนรู้
วิชา ท ๒๑๑๐๒ ภาษาไทย ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง พระยาพิชัยดาบหัก
หัวข้อเรื่อง การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เวลา ๓ ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวขนิษฐา นาคีสินธุ์ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์

สาระสำคัญ

พระยาพิชัยดาบหักคัดมาจากหนังสือบุคลในประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงชีวิตของวีระบุรุษไทย ที่มีคุณธรรมอันควรเป็นตัวอย่างหลายประการ เช่น ความกล้าหาญ ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น ในขั้นแรกผู้เรียนจึงต้องอ่านเนื้อเรื่องโดยอ่านออกเสียงร้อยแก้ว

จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงร้อยแก้วได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนสามารถระบุข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านได้

สาระการเรียนรู้
๑. ประวัติผู้แต่ง
๒. การอ่านออกเสียงร้อยแก้วเรื่องพระยาพิชัยดาบหัก


กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑ บทนำเรื่องพระยาพิชัยดาบหัก
ขั้นนำ ครูกล่าวคำทักทายนักเรียน และบอกนักเรียนว่าวันนี้เราจะเรียนประวัติศาสตร์ไทย
ขั้นสอน ครูแจกเอกสารประกอบการเรียนเรื่องพระยาพิชัยดาบหักให้นักเรียนคนละ ๑ ฉบับ และให้นักเรียนอ่านบทนำเรื่อง
เมื่อนักเรียนอ่านจบแล้ว ครูถามนักเรียนว่า ใครเป็นผู้เรียบเรียงเรื่องพระยาพิชัยดาบหัก , ผู้แต่งมีผลงานการประพันธ์ประเภทใด จงยกตัวอย่าง และเหตุใดจึงเรียกว่าพระยาพิชัยดาบหัก
ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปประวัติผู้แต่ง ความเป็นมาของเรื่องและเก็บเอกสารคืน


ชั่วโมงที่ ๒ เนื้อเรื่องพระยาพิชัยดาบหัก
ขั้นนำ ครูสอบถามนักเรียนถึงเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงที่แล้ว
ขั้นสอน ครูแจกเอกสารประกอบการเรียนเรื่องพระยาพิชัยดาบหัก และให้นักเรียนอ่านออกเสียงร้อยแก้วทีละคน คนละประมาณ ๕ – ๖ บรรทัด โดยเรียงตามลำดับที่นั่ง
ครูเล่าเรื่องย่อให้นักเรียนฟัง และถามคำถามนักเรียนเป็นระยะจนจบเรื่อง ครูให้นักเรียนบอกความคิดเห็นหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
ขั้นสรุป ครูสอบและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องพระยาพิชัยดาบหัก

ชั่วโมงที่ ๓ การทำแบบทดสอบ เรื่องพระยาพิชัยดาบหัก
ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบ เรื่องพระยาพิชัยดาบหัก จำนวน ๑๐ ข้อ ส่งภายในคาบ


สื่อและแหล่งเรียนรู้
๑. เอกสารประกอบการเรียน เรื่องพระยาพิชัยดาบหัก
๒. แบบทดสอบ เรื่องพระยาพิชัยดาบหัก


การวัดและประเมินผล
๑. วัดผลการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
๒. วัดผลการทำแบบทดสอบ
๓. สังเกตความสนใจ และการมีส่วนร่วมในการเรียน

แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี๑๑

แผนการจัดการเรียนรู้
วิชา ท ๒๑๑๐๒ ภาษาไทย ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หัวข้อเรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี ๑๑
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เวลา ๓ ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวขนิษฐา นาคีสินธุ์ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์


สาระสำคัญ
การแต่งคำประพันธ์ชนิดต่างๆถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญในการเรียนภาษาไทยมาก นอกจากการเรียนฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์แต่ละชนิดแล้ว ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องฝึกการแต่งคำประพันธ์
เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เป็นต้น

จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนอธิบายฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนสามารถแต่งกาพย์ยานี ๑๑ได้


สาระการเรียนรู้
๑. ฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ได้ถูกต้อง
๒. กลวิธีในการแต่งกาพย์ยานี ๑๑


กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑ ฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
ขั้นนำ ครูกล่าวคำทักทายนักเรียน นักเรียนทำความเคารพ ครูสอบถามนักเรียน
ขั้นสอน ครูอธิบายฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘โดยเขียนแผนผังบนกระดานพร้อมกับให้นักเรียนจดบันทึกลงสมุด
ครูถามนักเรียนถึงสัมผัสนอกและสัมผัสในของกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ เป็นรายบุคคล หากนักเรียนตอบไม่ได้ก็จะให้นักเรียนที่เหลือช่วยกันตอบ
ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ และแจ้งให้นักเรียนทราบว่าชั่วโมงหน้าจะให้นักเรียนแต่งกาพย์ยานี ๑๑


ชั่วโมงที่ ๒ และ ๓ : การแต่งกาพย์ยานี ๑๑
ขั้นนำ ครูสอบถามนักเรียนนักเรียนว่าจำฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี ๑๑ ได้หรือไม่ ให้บอกพร้อมๆกัน
ขั้นสอน ครูให้นักเรียนแต่งกาพย์ยานี ๑๑ เป็นรายบุคคล ตามหัวข้อที่ครูกำหนดให้ ดังนี้ ความรักของพ่อ สัตว์ที่ฉันรัก ธรรมชาติรื่นรมย์ ดอกไม้แห่งความสุข เป็นคะแนนชิ้นงาน ๑๐ คะแนน
เมื่อนักเรียนเลือกหัวข้อได้แล้วก็ให้ลงมือแต่งกาพย์ยานี ๑๑ พร้อมวาดภาพประกอบให้สวยงาม ลงในกระดาษขนาด A 4 หากมีข้อสงสัยให้ถามครู และนำผลงานมาให้ครูตรวจความถูกต้องได้เป็นระยะ
ขั้นสรุป ครูสอบถามนักเรียนว่าแต่งกาพย์ยานี ๑๑ ถึงไหนแล้ว หากยังไม่เสร็จให้นำงานมาส่งในคาบต่อไป


สื่อและแหล่งเรียนรู้
๑. หนังสือเรียนภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
๒. แผนผังกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘


การวัดและประเมินผล
๑. วัดผลการแต่งกาพย์ยานี ๑๑
๒. สังเกตความสนใจ และการมีส่วนร่วมในการเรียน
๓. วัดผลการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม