วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องคำนาม คำสรรพนาม และคำกริยา

แผนการจัดการเรียนรู้วิชา ท ๒๑๑๐๒ ภาษาไทย ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง พระยาพิชัยดาบหัก หัวข้อเรื่อง คำนาม คำสรรพนาม และคำกริยา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เวลา ๖ ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวขนิษฐา นาคีสินธุ์ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์

สาระสำคัญ
คำมี ๗ ชนิด ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน ในหน่วยการเรียนนี้นักเรียนจะได้เรียน ๓ ชนิด คือ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา

จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนบอกความหมายของคำนาม คำสรรพนาม คำกริยาได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนแต่งประโยคโดยใช้คำนาม คำสรรพนาม คำกริยาได้

สาระการเรียนรู้
๑. ความหมายของคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา
๒. ชนิดของคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา
๓. ตัวอย่างประโยคคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา


กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑ คำนาม
ขั้นนำ ครูกล่าวคำทักทายนักเรียน และบอกนักเรียนว่าวันนี้จะเรียนเรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ
ขั้นสอน ครูอธิบายชนิดและหน้าที่ของคำว่ามี ๗ ชนิดและนักเรียนจะได้เรียน ๓ ชนิด คือ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา แต่ในชั่วโมงนี้จะเรียนเรื่องคำนามก่อน
ครูอธิบายความหมายของคำนาม และชนิดของคำนามว่ามี ๕ ชนิด และบอกลักษณะเฉพาะของคำนามแต่ละชนิดพร้อมยกตัวอย่าง และให้นักเรียนยกตัวอย่างประโยค
ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมาย และชนิดของคำนาม



ชั่วโมงที่ ๒ การแต่งประโยคคำนาม
ขั้นนำ ครูสอบถามนักเรียนถึงเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงที่แล้ว และทบทวนเนื้อหา
ขั้นสอน ครูให้นักเรียนแต่งประโยคคำนามชนิดละ ๓ ประโยค ลงในสมุดส่งภายในชั่วโมง
ขั้นสรุป ครูสอบถามนักเรียนว่าใครยังทำงานไม่เสร็จให้ทำเป็นการบ้านและนำมาส่งวันพรุ่งนี้


ชั่วโมงที่ ๓ คำสรรพนาม
ขั้นนำ ครูบอกหัวข้อที่จะเรียนในชั่วโมงนี้
ขั้นสอน ครูอธิบายความหมายของคำสรรพนาม และชนิดของคำสรรพนาม พร้อมยกตัวอย่างคำ และตัวอย่างประโยค และให้นักเรียนยกตัวอย่างคนละ ๑ ประโยคที่เป็นคำสรรพนามของแต่ละชนิด
ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมาย และชนิดของคำสรรพนาม


ชั่วโมงที่ ๔ การแต่งประโยคคำสรรพนาม
ขั้นนำ ครูสอบถามนักเรียนถึงเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงที่แล้ว และทบทวนเนื้อหา
ขั้นสอน ครูให้นักเรียนแต่งประโยคคำสรรพนามชนิดละ ๓ ประโยค ลงในสมุดส่งภายในชั่วโมง
ขั้นสรุป ครูสอบถามนักเรียนว่าใครยังทำงานไม่เสร็จให้ทำเป็นการบ้านและนำมาส่งวันพรุ่งนี้


ชั่วโมงที่ ๕ คำกริยา
ขั้นนำ ครูบอกหัวข้อที่จะเรียนในชั่วโมงนี้
ขั้นสอน ครูอธิบายความหมายของคำกริยา และชนิดของคำกริยา พร้อมยกตัวอย่างคำ และตัวอย่างประโยค และให้นักเรียนยกตัวอย่างคนละ ๑ ประโยค
ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมาย และชนิดของคำกริยา



ชั่วโมงที่ ๖ การแต่งประโยคคำกริยา
ขั้นนำ ครูสอบถามนักเรียนถึงเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงที่แล้ว และทบทวนเนื้อหา
ขั้นสอน ครูให้นักเรียนแต่งประโยคคำกริยาชนิดละ ๓ ประโยค ลงในสมุดส่งภายในชั่วโมง
ขั้นสรุป ครูสอบถามนักเรียนว่าใครยังทำงานไม่เสร็จให้ทำเป็นการบ้านและนำมาส่งวันพรุ่งนี้


สื่อและแหล่งเรียนรู้
๑. หนังสือเรียนภาษาไทย
๒. แบบฝึกหัดคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา


การวัดและประเมินผล
๑. วัดผลการทำแบบฝึกหัด
๒. วัดผลการตอบคำถาม
๓. สังเกตความสนใจ และการมีส่วนร่วมในการเรียน

แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องพระยาพิชัยดาบหัก

แผนการจัดการเรียนรู้
วิชา ท ๒๑๑๐๒ ภาษาไทย ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง พระยาพิชัยดาบหัก
หัวข้อเรื่อง การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เวลา ๓ ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวขนิษฐา นาคีสินธุ์ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์

สาระสำคัญ

พระยาพิชัยดาบหักคัดมาจากหนังสือบุคลในประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงชีวิตของวีระบุรุษไทย ที่มีคุณธรรมอันควรเป็นตัวอย่างหลายประการ เช่น ความกล้าหาญ ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น ในขั้นแรกผู้เรียนจึงต้องอ่านเนื้อเรื่องโดยอ่านออกเสียงร้อยแก้ว

จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงร้อยแก้วได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนสามารถระบุข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านได้

สาระการเรียนรู้
๑. ประวัติผู้แต่ง
๒. การอ่านออกเสียงร้อยแก้วเรื่องพระยาพิชัยดาบหัก


กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑ บทนำเรื่องพระยาพิชัยดาบหัก
ขั้นนำ ครูกล่าวคำทักทายนักเรียน และบอกนักเรียนว่าวันนี้เราจะเรียนประวัติศาสตร์ไทย
ขั้นสอน ครูแจกเอกสารประกอบการเรียนเรื่องพระยาพิชัยดาบหักให้นักเรียนคนละ ๑ ฉบับ และให้นักเรียนอ่านบทนำเรื่อง
เมื่อนักเรียนอ่านจบแล้ว ครูถามนักเรียนว่า ใครเป็นผู้เรียบเรียงเรื่องพระยาพิชัยดาบหัก , ผู้แต่งมีผลงานการประพันธ์ประเภทใด จงยกตัวอย่าง และเหตุใดจึงเรียกว่าพระยาพิชัยดาบหัก
ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปประวัติผู้แต่ง ความเป็นมาของเรื่องและเก็บเอกสารคืน


ชั่วโมงที่ ๒ เนื้อเรื่องพระยาพิชัยดาบหัก
ขั้นนำ ครูสอบถามนักเรียนถึงเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงที่แล้ว
ขั้นสอน ครูแจกเอกสารประกอบการเรียนเรื่องพระยาพิชัยดาบหัก และให้นักเรียนอ่านออกเสียงร้อยแก้วทีละคน คนละประมาณ ๕ – ๖ บรรทัด โดยเรียงตามลำดับที่นั่ง
ครูเล่าเรื่องย่อให้นักเรียนฟัง และถามคำถามนักเรียนเป็นระยะจนจบเรื่อง ครูให้นักเรียนบอกความคิดเห็นหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
ขั้นสรุป ครูสอบและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องพระยาพิชัยดาบหัก

ชั่วโมงที่ ๓ การทำแบบทดสอบ เรื่องพระยาพิชัยดาบหัก
ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบ เรื่องพระยาพิชัยดาบหัก จำนวน ๑๐ ข้อ ส่งภายในคาบ


สื่อและแหล่งเรียนรู้
๑. เอกสารประกอบการเรียน เรื่องพระยาพิชัยดาบหัก
๒. แบบทดสอบ เรื่องพระยาพิชัยดาบหัก


การวัดและประเมินผล
๑. วัดผลการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
๒. วัดผลการทำแบบทดสอบ
๓. สังเกตความสนใจ และการมีส่วนร่วมในการเรียน

แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี๑๑

แผนการจัดการเรียนรู้
วิชา ท ๒๑๑๐๒ ภาษาไทย ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หัวข้อเรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ยานี ๑๑
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เวลา ๓ ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวขนิษฐา นาคีสินธุ์ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์


สาระสำคัญ
การแต่งคำประพันธ์ชนิดต่างๆถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญในการเรียนภาษาไทยมาก นอกจากการเรียนฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์แต่ละชนิดแล้ว ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องฝึกการแต่งคำประพันธ์
เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เป็นต้น

จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนอธิบายฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนสามารถแต่งกาพย์ยานี ๑๑ได้


สาระการเรียนรู้
๑. ฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ได้ถูกต้อง
๒. กลวิธีในการแต่งกาพย์ยานี ๑๑


กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑ ฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
ขั้นนำ ครูกล่าวคำทักทายนักเรียน นักเรียนทำความเคารพ ครูสอบถามนักเรียน
ขั้นสอน ครูอธิบายฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘โดยเขียนแผนผังบนกระดานพร้อมกับให้นักเรียนจดบันทึกลงสมุด
ครูถามนักเรียนถึงสัมผัสนอกและสัมผัสในของกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ เป็นรายบุคคล หากนักเรียนตอบไม่ได้ก็จะให้นักเรียนที่เหลือช่วยกันตอบ
ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ และแจ้งให้นักเรียนทราบว่าชั่วโมงหน้าจะให้นักเรียนแต่งกาพย์ยานี ๑๑


ชั่วโมงที่ ๒ และ ๓ : การแต่งกาพย์ยานี ๑๑
ขั้นนำ ครูสอบถามนักเรียนนักเรียนว่าจำฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี ๑๑ ได้หรือไม่ ให้บอกพร้อมๆกัน
ขั้นสอน ครูให้นักเรียนแต่งกาพย์ยานี ๑๑ เป็นรายบุคคล ตามหัวข้อที่ครูกำหนดให้ ดังนี้ ความรักของพ่อ สัตว์ที่ฉันรัก ธรรมชาติรื่นรมย์ ดอกไม้แห่งความสุข เป็นคะแนนชิ้นงาน ๑๐ คะแนน
เมื่อนักเรียนเลือกหัวข้อได้แล้วก็ให้ลงมือแต่งกาพย์ยานี ๑๑ พร้อมวาดภาพประกอบให้สวยงาม ลงในกระดาษขนาด A 4 หากมีข้อสงสัยให้ถามครู และนำผลงานมาให้ครูตรวจความถูกต้องได้เป็นระยะ
ขั้นสรุป ครูสอบถามนักเรียนว่าแต่งกาพย์ยานี ๑๑ ถึงไหนแล้ว หากยังไม่เสร็จให้นำงานมาส่งในคาบต่อไป


สื่อและแหล่งเรียนรู้
๑. หนังสือเรียนภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
๒. แผนผังกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘


การวัดและประเมินผล
๑. วัดผลการแต่งกาพย์ยานี ๑๑
๒. สังเกตความสนใจ และการมีส่วนร่วมในการเรียน
๓. วัดผลการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม

แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการเขียนจดหมายกิจธุระ และการเขียนแนะนำสถานที่สำคัญในจังหวัดราชบุรี

แผนการจัดการเรียนรู้
วิชา ท ๒๑๑๐๒ ภาษาไทย ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หัวข้อเรื่อง การการเขียนจดหมายกิจธุระ และการเขียนแนะนำสถานที่สำคัญในจังหวัดราชบุรี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เวลา ๓ ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวขนิษฐา นาคีสินธุ์ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์

สาระสำคัญ
จดหมายกิจธุระ เป็นการเขียนจดหมายติดต่อกับบุคคลอื่น เช่น จดหมายลาป่วยลากิจ ขอความร่วมมือ ขอความช่วยเหลือจากองค์การหรือหน่วยงานต่างๆ จดหมายกิจธุระแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ จดหมายส่วนตัว เป็นการสื่อสารระหว่างผู้เขียนกับผู้รับ และจดหมายกิจธุระ เป็นจดหมายขอความร่วมมือ ขอความช่วยเหลือ
การเขียนแนะนำสถานที่ต่างๆ เช่นการเขียนแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว การเขียนแนะนำสถานที่สำคัญต่างๆ เป็นต้น


จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนบอกหลักการเขียนจดหมายกิจธุระได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนเขียนจดหมายกิจธุระได้ถูกต้อง
๓. นักเรียนเขียนแนะนำสถานที่ต่างๆในจังหวัดราชบุรี


สาระการเรียนรู้
๑. ความหมายของจดหมายกิจธุระ
๒. ประเภทของจดหมาย
๓. มารยาทในการเขียนจดหมาย
๔. การเขียนแนะนำสถานที่ต่างๆในจังหวัดราชบุรี


กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑ : หลักการเขียนจดหมายกิจธุระ

ขั้นนำ ครูกล่าวคำทักทายนักเรียน นักเรียนทำความเคารพ ครูสอบถามนักเรียนว่านักเรียนทราบหรือไม่ว่าจดหมายมีกี่ประเภท
ขั้นสอน ครูบอกคำอธิบายความหมายของจดหมายกิจธุระ หลักการเขียนจดหมายกิจธุระ ประเภทของจดหมาย และมารยาทในการเขียนจดหมายให้นักเรียนฟัง
ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมายของจดหมายกิจธุระ หลักการเขียนจดหมายกิจธุระ ประเภทของจดหมาย และมารยาทในการเขียนจดหมาย และครูบอกนักเรียนว่าชั่วโมงหน้าจะให้นักเรียนเขียนจดหมายกิจธุระ


ชั่วโมงที่ ๒ : การเขียนจดหมายกิจธุระ
ขั้นนำ ครูสอบถามนักเรียนว่านักเรียนจำหลักการเขียนจดหมายกิจธุระได้หรือไม่ ให้บอกพร้อมๆกัน
ขั้นสอน ครูให้นักเรียนดูตัวอย่างจดหมายกิจธุระ และให้นักเรียนเขียนจดหมายกิจธุระเพื่อลากิจไปทำธุระที่ต่างจังหวัด โดยให้นักเรียนระบุจังหวัดที่นักเรียนจะไป ทำเป็นรายบุคคล
ขั้นสรุป ครูสอบถามนักเรียนว่านัดเรียนคนใดยังทำงานไม่เสร็จ ให้นำงานมาส่งในชั่วโมงหน้า


ชั่วโมงที่ ๓ การเขียนแนะนำสถานที่ต่างๆในจังหวัดราชบุรี
ขั้นนำ ครูสอบถามนักเรียนเคยไปสถานที่ใดในจังหวัดราชบุรีบ้าง
ขั้นสอน ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๘ กลุ่ม กลุ่มละ ๕-๖ คน เพื่อเขียนแนะนำสถานที่ต่างๆในจังหวัดราชบุรี
ครูแจกกระดาษฟุลสแก๊ปให้กลุ่มละ ๒ แผ่น และให้แต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิดในการเขียนแนะนำสถานที่ต่างๆในจังหวัดราชบุรี จากนั้นให้ส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนองานหน้าห้อง
ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสถานที่ต่างๆในจังหวัดราชบุรี


สื่อและแหล่งเรียนรู้
๑. หนังสือเรียนภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
๒. กระดาษฟุลสแก๊ป
๓. ตัวอย่างจดหมายกิจธุระ


การวัดและประเมินผล
๑. วัดผลการเขียนจดหมายกิจธุระ
๒. สังเกตความสนใจ และการมีส่วนร่วมในการเรียน
๓. วัดผลการเขียนแนะนำสถานที่ต่างๆในจังหวัดราชบุรี