วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อต่างๆ

แผนการจัดการเรียนรู้วิชา ท ๒๑๑๐๒ ภาษาไทย ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หัวข้อเรื่อง การเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่างๆ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เวลา ๓ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวขนิษฐา นาคีสินธุ์ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ สอนวันที่ ๒๕ – ๒๙ มกราคม 25
53

สาระสำคัญ
การเขียนคือการถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกนึกคิด และประสบการณ์ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้อื่นได้ทราบโดยการอ่าน การเขียนในลักษณะนี้จึงเป็นทักษะการส่งสารเพื่อให้เกดความรู้ ความเข้าใจตรงตามจุดประสงค์


จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่างๆได้
๒. นักเรียนมีมารยาทในการเขียน
๓. นักเรียนพูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่างๆได้


สาระการเรียนรู้
๑. การเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่างๆ
๒. การพูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่างๆ


กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑
ขั้นนำ:
ครูกล่าวคำทักทายนักเรียน และสอบถามนักเรียนว่าทราบหรือไม่ว่าการเขียนมีความสำคัญอย่างไร
ขั้นสอน: ครูให้นักเรียนอ่านทำความเข้าใจในเรื่องของการเขียนจากหนังสือเรียนภาษาไทย หน้า ๑๐๑
จากนั้นครูอธิบายความหมาย ความสำคัญ จุดมุ่งหมาย และมารยาทในการเขียนให้นักเรียนฟัง และซักถามนักเรียนเป็นรายบุคคล
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องการเขียน และสั่งการบ้าน คือ ให้นักเรียนหาบทความ บทบรรณาธิการ หรือคอลัมน์ต่างๆ ในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร โดยให้ตัดแปะลงในกระดาษA๔ เพื่อนำมาเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่างๆในชั่วโมงต่อไป

ชั่วโมงที่ ๒
ขั้นนำ: ครูทบทวนเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงที่แล้ว
ขั้นสอน : ครูอธิบายการเขียนแสดงความคิดเห็นให้นักเรียนฟัง และให้นักเรียนนำงานที่สั่งให้ทำการบ้านขึ้นมา แล้วลงมือเขียนแสดงความคิดเห็นว่าสื่อนั้นมีความน่าเชื่อถือ หรือมีเนื้อหาโน้มน้าวใจหรือไม่ เพราะอะไร
ขั้นสรุป: ครูสอบถามว่าใครยังทำงานไม่เสร็จ และให้นักเรียนฝึกพูดแสดงความคิดเห็นจากสื่อที่นักเรียนได้ทำ เพราะชั่วโมงหน้าครูจะสุ่มนักเรียนออกมาพูดหน้าชั้น


ชั่วโมงที่ ๓
ขั้นนำ:
ครูสอบถามนักเรียนว่าได้ลองฝึกพูดมาบ้างแล้วหรือยัง
ขั้นสอน: ครูสุ่มเรียกชื่อนักเรียนออกมาพูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่างๆหน้าชั้นจำนวน ๑๕ คน
ใช้เวลาคนละประมาณ ๑๕ นาที
ขั้นสรุป: ครูสรุปสาระสำคัญจากเรื่องที่นักเรียนออกมาพูด และบอกถึงหน่วยการเรียนต่อไป


สื่อและแหล่งเรียนรู้
๑. หนังสือเรียนภาษาไทย
๒. หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ


การวัดและประเมินผล
๑. วัดผลการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่างๆ
๒. วัดผลการตอบคำถาม และการแสดงความคิดเห็น
๓. สังเกตความสนใจ และการมีส่วนร่วมในการเรียน
๔. การพูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อต่าง

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

แผนการเรียนรู้ เรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

แผนการจัดการเรียนรู้วิชา ท ๒๑๑๐๒ ภาษาไทย ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หน่วยการเรียนรู้เรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หัวข้อเรื่อง ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เวลา ๔ชั่วโมง
สอนวันที่ ๑๘ - ๒๒ มกราคม ๒๕๕๓
ผู้สอน นางสาวขนิษฐา นาคีสินธุ์ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์

สาระสำคัญ
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงจารึกเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๖ ด้วยตัวอักษรที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชประดิษฐ์ขึ้น ด้านที่เรียนนี้คือด้านที่ ๑ และด้านที่ ๔

จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนอ่านออกเสียงร้อยแก้วได้ถูกต้อง
๒.นักเรียนสามารถเขียนแสดงความคิดเห็นจากเรื่องได้
๓.นักเรียนมีมารยาทในการเขียน


สาระการเรียนรู้
๑. ประวัติความเป็นมา ผู้แต่ ความมุ่งหมายในการแต่ง และลักษณะการแต่ง
๒. เนื้อหาสาระในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑
๓. การเขียนคำในปัจจุบัน และในสมัยพ่อขุนรามคำแหง


กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑
ขั้นนำ: ครูกล่าวคำทักทายนักเรียน และสอบถามนักเรียนว่าเคยเห็นศิลาจารึกหรือไม่ ถ้าเคยเห็น ศิลาจารึกมีกี่ด้าน และบอกนักเรียนว่าชั่วโมงนี้จะเรียนเรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง
ขั้นสอน: ครูอธิบายประวัติความเป็นมา ผู้แต่ ความมุ่งหมายในการแต่ง และลักษณะการแต่ง และซักถามนักเรียนเป็นระยะ
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปประวัติความเป็นมา ผู้แต่ ความมุ่งหมายในการแต่ง และลักษณะการแต่ง และให้นักเรียนอ่านเนื้อเรื่องมาล่วงหน้า


ชั่วโมงที่ ๒
ขั้นนำ:
ครูสอบถามนักเรียนว่าได้อ่านเนื้อเรื่องมาหรือไม่ และบอกว่าวันนี้จะเรียนในเรื่องอักขรวิธีในการเขียนคำในสมัยพ่อขุนรามคำแหง และในสมัยปัจจุบัน
ขั้นสอน : ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือหน้าเรียนหน้า ๑๘๖ เพื่อดูลักษณะการเขียนคำ และการอ่านคำในสมัยพ่อขุนรามคำแหง พร้อมทั้งอธิบายอักขรวิธีการเขียนในสมัยพ่อขุนรามคำแหง
ครูให้นักเรียนอ่านคำที่ครูเขียนบนกระดาน ซึ่งคำที่เขียนนั้นเป็นคำในสมัยพ่อขุนรามคำแหง และให้นักเรียนจดลงสมุด
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปการเขียนคำ และการอ่านคำในสมัยพ่อขุนรามคำแหง


ชั่วโมงที่ ๓
ขั้นนำ: ครูทบทวนเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงที่แล้ว
ขั้นสอน: ครูให้นักเรียนอ่านเนื้อเรื่องโดยอ่านออกเสียงร้อยแก้วคนละประมาณ ๔-๕ บรรทัด
จากนั้นครูอธิบายเนื้อเรื่องให้นักเรียนฟัง และซักถามเป็นระยะ โดยอธิบายว่าหลักศิลาจารึกมีทั้งหมด ๔ ด้าน ซึ่งนักเรียนจะได้เรียน ๒ ด้าน คือด้านที่ ๑ และด้านที่ ๔
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปคุณค่า และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง


ชั่วโมงที่ ๔
ขั้นนำ: ครูทบทวนเนื้อหา
ขั้นสอน: ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด เรื่องศิลาจารึกหลักที่ ๑ จำนวน ๒ ตอนดังนี้
ตอนที่ ๑ ให้นักเรียนศึกษาคำอธิบายคำศัพท์ และนำตัวอักษรมาเติมหน้าตัวเลข
ตอนที่ ๒ ให้เขียนความหมายของคำที่กำหนดให้
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปคุณค่า และข้อคิดที่ได้จากเรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง


สื่อและแหล่งเรียนรู้
๑. หนังสือเรียนภาษาไทย
๒. แบบฝึกหัด
๓. เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องศิลาจารึกหลักที่ ๑


การวัดและประเมินผล
๑. วัดผลการทำแบบฝึกหัด
๒. การแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของนักเรียน
๓. สังเกตความสนใจ และการมีส่วนร่วมในการเรียน

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาท ๒๑๑๐๒ภาษาไทย ๒กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หน่วยการเรียนรู้เรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หัวข้อเรื่อง คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เวลา ๔ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวขนิษฐา นาคีสินธุ์ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์

สาระสำคัญ
คำมี ๗ ชนิด ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน ในหน่วยการเรียนนี้นักเรียนจะได้เรียน๔ ชนิด คือ คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน


จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนบอกความหมายของคำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทานได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนแต่งประโยคโดยใช้คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทานได้


สาระการเรียนรู้
๑. ความหมายของคำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน
๒. ชนิดของคำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน
๓. ตัวอย่างประโยคคำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน


กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑ คำวิเศษณ์
ขั้นนำ: ครูกล่าวคำทักทายนักเรียน และบอกนักเรียนว่าวันนี้จะเรียนเรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ
ขั้นสอน: ครูอธิบายชนิดและหน้าที่ของคำว่ามี ๗ ชนิดและนักเรียนจะได้เรียน ๔ ชนิด คือ คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน แต่ในชั่วโมงนี้จะเรียนเรื่องคำวิเศษณ์ก่อน
ครูอธิบายความหมายของคำวิเศษณ์ และชนิดของคำนามว่ามี ๑๐ ชนิด และบอกลักษณะเฉพาะของคำวิเศษณ์แต่ละชนิดพร้อมยกตัวอย่าง และให้นักเรียนยกตัวอย่างประโยค
ครูให้นักเรียนทำแผนผังมโนทัศน์เรื่องชนิดของคำ วาดภาพระบายสีให้สวยงาม ให้๑๐ คะแนน
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมาย และชนิดของคำวิเศษณ์ รวมทั้งสอบถามนักเรียนว่าใครยังทำงานไม่เสร็จให้ทำเป็นการบ้านและนำมาส่งวันพรุ่งนี้

ชั่วโมงที่ ๒ คำบุพบท
ขั้นนำ: ครูสอบถามนักเรียนถึงเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงที่แล้ว และทบทวนเนื้อหา
ขั้นสอน : ครูอธิบายความหมายของคำบุพบท และชนิดของบุพบทว่ามี ๒ ชนิด และบอกลักษณะเฉพาะของ
คำบุพบทแต่ละชนิดพร้อมยกตัวอย่าง และให้นักเรียนยกตัวอย่างประโยค
ครูให้นักเรียนแต่งประโยคคำบุพบทชนิดละ ๓ ประโยค ลงในสมุดส่งภายในชั่วโมง
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมาย และชนิดของคำบุพบท รวมทั้งสอบถามนักเรียนว่าใครยังทำงานไม่เสร็จให้ทำเป็นการบ้านและนำมาส่งวันพรุ่งนี้


ชั่วโมงที่ ๓ คำสันธาน
ขั้นนำ: ครูบอกหัวข้อที่จะเรียนในชั่วโมงนี้
ขั้นสอน: ครูอธิบายความหมายของคำสันธาน และชนิดของคำ สันธานพร้อมยกตัวอย่างคำ และตัวอย่างประโยค และให้นักเรียนยกตัวอย่างคนละ ๑ ประโยคที่เป็นคำสันธานของแต่ละชนิด
ครูให้นักเรียนแต่งประโยคคำสันธานชนิดละ ๓ ประโยค ลงในสมุดส่งภายในชั่วโมง
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมาย และชนิดของคำสันธาน รวมทั้งสอบถามนักเรียนว่าใครยังทำงานไม่เสร็จให้ทำเป็นการบ้านและนำมาส่งวันพรุ่งนี้


ชั่วโมงที่ ๔ คำอุทาน
ขั้นนำ: ครูบอกหัวข้อที่จะเรียนในชั่วโมงนี้
ขั้นสอน: ครูอธิบายความหมายของคำอุทาน และชนิดของคำอุทาน พร้อมยกตัวอย่างคำ และตัวอย่างประโยค และให้นักเรียนยกตัวอย่างคนละ ๑ ประโยค
ครูให้นักเรียนแต่งประโยคคำอุทานชนิดละ ๓ ประโยค ลงในสมุดส่งภายในชั่วโมง
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมาย และชนิดของคำอุทาน รวมทั้งสอบถามนักเรียนว่าใครยังทำงานไม่เสร็จให้ทำเป็นการบ้านและนำมาส่งวันพรุ่งนี้



สื่อและแหล่งเรียนรู้
๑. หนังสือเรียนภาษาไทย
๒. แบบฝึกหัดคำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน


การวัดและประเมินผล
๑. วัดผลการทำแบบฝึกหัด และการทำแผนผังมโนทัศน์
๒. วัดผลการตอบคำถาม และการแสดงความคิดเห็น
๓. สังเกตความสนใจ และการมีส่วนร่วมในการเรียน