แผนการจัดการเรียนรู้วิชา ท ๒๑๑๐๒ ภาษาไทย ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หน่วยการเรียนรู้เรื่องเพลงพื้นบ้าน หัวข้อเรื่อง เพลงกล่อมเด็ก
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เวลา ๙ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวขนิษฐา นาคีสินธุ์ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ สอนวันที่ ๑ – ๑๙ กุมภาพันธ์ 2553
สาระสำคัญ
เพลงกล่อมเด็กเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ ใช้ภาษาเป็นการสื่อในการถ่ายทอดซึ่งแพร่หลายแทบทุกชาติทุกภาษาทั่วโลก เพลงกล่อมเด็กเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นต่างๆ
จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนบอกลักษณะของเพลงกล่อมเด็กแต่ละภาคได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนของการจัดทำโครงงานได้ถูกต้อง
๓. นักเรียนเขียนนำเสนอผลการจัดทำโครงงานที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง
สาระการเรียนรู้
๑. เนื้อหาเพลงกล่อมเด็ก
๒. ฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนของการจัดทำโครงงาน
๓. เขียนนำเสนอผลการจัดทำโครงงาน
กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑
ขั้นนำ: ครูสอบถามนักเรียนถึงเรื่องของเพลงพื้นบ้าน และบอกนักเรียนว่าชั่วโมงนี้จะเรียนเรื่องเพลงกล่อมเด็ก ซึ่งเป็นหน่วยสุดท้ายของการเรียนในภาคเรียนนี้
ขั้นสอน: ครูแจกเอกสารเรื่องเพลงกล่อมเด็กให้นักเรียนคนละ ๑ ฉบับ จากนั้นให้นักเรียนอ่าน จากนั้นครูอธิบายเนื้อหา และถามนักเรียนเป็นระยะ
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องเพลงกล่อมเด็ก
ชั่วโมงที่ ๒
ขั้นนำ: ครูทบทวนเนื้อหาในชั่วโมงที่แล้ว
ขั้นสอน : ครูให้นักเรียนดูวีดีโอ เพลงกล่อมเด็กทั้ง ๔ ภาค จากนั้นให้นักเรียนร้องเพลงกล่อมเด็ก
ขั้นสรุป: ครูเพลงกล่อมเด็กทั้ง ๔ ภาค ว่าแตกต่างกันอย่างไร
ชั่วโมงที่ ๓
ขั้นนำ: ครูสอบถามนักเรียนว่าเคยเรียนการทำโครงงานมาบ้างแล้วหรือไม่
ขั้นสอน: ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มๆละ ๕-๖ คน
ครูแจกเอกสารเค้าโครงร่างการทำโครงงาน และตัวอย่างโครงงาน กลุ่มละ ๑ ฉบับ จากนั้นให้นักเรียนศึกษาเนื้อหา และฟังครูอธิบาย
ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปสำรวจเพลงกล่อมเด็กในพื้นที่ หรือในหมู่บ้านของตนเองเพื่อนำมาทำโครงงานในชั่วโมงหน้า
ขั้นสรุป: ครูสรุปในเรื่องของงานที่สั่ง
ชั่วโมงที่ ๔
ขั้นนำ: ครูสอบถามนักเรียนว่าจากการไปสำรวจเพลงพื้นบ้านมาแล้วนักเรียนได้ข้อมูลอะไรบ้าง และมีปัญหาหรืออุปสรรคบ้างหรือไม่
ขั้นสอน: ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือทำเริ่มจากการเขียนเค้าโครงร่างของโครงงานก่อน เช่น ตั้งชื่อโครงงาน หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมาย เป็นต้น
ขั้นสรุป: ครูให้นักเรียนกลับไปช่วยกันคิดและทำในส่วนที่เหลือเท่าที่ทำได้
ชั่วโมงที่ ๕-๘
ครูให้นักเรียนทำโครงงานต่อจนเสร็จ ครูช่วยในการให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะแก่นักเรียน โครงงานของทุกกลุ่มจะต้องเป็นรูปเล่ม ส่งภายในสัปดาห์สุดท้ายของการเรียน
ชั่วโมงที่ ๙
ขั้นนำ : ครูสอบถามนักเรียนกลุ่มใดยังทำงานไม่เสร็จ
ขั้นสอน : ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอโครงงานหน้าชั้น ให้เวลากลุ่มละไม่เกิน ๕ นาที
ขั้นสรุป : ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปประเด็นต่างๆจากการสำรวจเพลงพื้นบ้าน และความรู้ที่ได้รับจากการทำโครงงาน
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
๑. เค้าโครงร่าง และตัวอย่างโครงงาน
๒.วีดีโอเพลงกล่อมเด็ก
๓. ตัวอย่างรูปเล่มโครงงาน
การวัดและประเมินผล
๑. วัดผลการทำโครงงานเป็นรายกลุ่ม
๒. สังเกตความสนใจ และการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม