วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องพระยาพิชัยดาบหัก

แผนการจัดการเรียนรู้
วิชา ท ๒๑๑๐๒ ภาษาไทย ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง พระยาพิชัยดาบหัก
หัวข้อเรื่อง การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เวลา ๓ ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวขนิษฐา นาคีสินธุ์ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์

สาระสำคัญ

พระยาพิชัยดาบหักคัดมาจากหนังสือบุคลในประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงชีวิตของวีระบุรุษไทย ที่มีคุณธรรมอันควรเป็นตัวอย่างหลายประการ เช่น ความกล้าหาญ ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น ในขั้นแรกผู้เรียนจึงต้องอ่านเนื้อเรื่องโดยอ่านออกเสียงร้อยแก้ว

จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงร้อยแก้วได้ถูกต้อง
๒. นักเรียนสามารถระบุข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านได้

สาระการเรียนรู้
๑. ประวัติผู้แต่ง
๒. การอ่านออกเสียงร้อยแก้วเรื่องพระยาพิชัยดาบหัก


กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑ บทนำเรื่องพระยาพิชัยดาบหัก
ขั้นนำ ครูกล่าวคำทักทายนักเรียน และบอกนักเรียนว่าวันนี้เราจะเรียนประวัติศาสตร์ไทย
ขั้นสอน ครูแจกเอกสารประกอบการเรียนเรื่องพระยาพิชัยดาบหักให้นักเรียนคนละ ๑ ฉบับ และให้นักเรียนอ่านบทนำเรื่อง
เมื่อนักเรียนอ่านจบแล้ว ครูถามนักเรียนว่า ใครเป็นผู้เรียบเรียงเรื่องพระยาพิชัยดาบหัก , ผู้แต่งมีผลงานการประพันธ์ประเภทใด จงยกตัวอย่าง และเหตุใดจึงเรียกว่าพระยาพิชัยดาบหัก
ขั้นสรุป ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปประวัติผู้แต่ง ความเป็นมาของเรื่องและเก็บเอกสารคืน


ชั่วโมงที่ ๒ เนื้อเรื่องพระยาพิชัยดาบหัก
ขั้นนำ ครูสอบถามนักเรียนถึงเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงที่แล้ว
ขั้นสอน ครูแจกเอกสารประกอบการเรียนเรื่องพระยาพิชัยดาบหัก และให้นักเรียนอ่านออกเสียงร้อยแก้วทีละคน คนละประมาณ ๕ – ๖ บรรทัด โดยเรียงตามลำดับที่นั่ง
ครูเล่าเรื่องย่อให้นักเรียนฟัง และถามคำถามนักเรียนเป็นระยะจนจบเรื่อง ครูให้นักเรียนบอกความคิดเห็นหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
ขั้นสรุป ครูสอบและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องพระยาพิชัยดาบหัก

ชั่วโมงที่ ๓ การทำแบบทดสอบ เรื่องพระยาพิชัยดาบหัก
ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบ เรื่องพระยาพิชัยดาบหัก จำนวน ๑๐ ข้อ ส่งภายในคาบ


สื่อและแหล่งเรียนรู้
๑. เอกสารประกอบการเรียน เรื่องพระยาพิชัยดาบหัก
๒. แบบทดสอบ เรื่องพระยาพิชัยดาบหัก


การวัดและประเมินผล
๑. วัดผลการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว
๒. วัดผลการทำแบบทดสอบ
๓. สังเกตความสนใจ และการมีส่วนร่วมในการเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น