วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

แผนการเรียนรู้ เรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

แผนการจัดการเรียนรู้วิชา ท ๒๑๑๐๒ ภาษาไทย ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
หน่วยการเรียนรู้เรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หัวข้อเรื่อง ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เวลา ๔ชั่วโมง
สอนวันที่ ๑๘ - ๒๒ มกราคม ๒๕๕๓
ผู้สอน นางสาวขนิษฐา นาคีสินธุ์ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์

สาระสำคัญ
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงจารึกเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๖ ด้วยตัวอักษรที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชประดิษฐ์ขึ้น ด้านที่เรียนนี้คือด้านที่ ๑ และด้านที่ ๔

จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนอ่านออกเสียงร้อยแก้วได้ถูกต้อง
๒.นักเรียนสามารถเขียนแสดงความคิดเห็นจากเรื่องได้
๓.นักเรียนมีมารยาทในการเขียน


สาระการเรียนรู้
๑. ประวัติความเป็นมา ผู้แต่ ความมุ่งหมายในการแต่ง และลักษณะการแต่ง
๒. เนื้อหาสาระในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑
๓. การเขียนคำในปัจจุบัน และในสมัยพ่อขุนรามคำแหง


กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ ๑
ขั้นนำ: ครูกล่าวคำทักทายนักเรียน และสอบถามนักเรียนว่าเคยเห็นศิลาจารึกหรือไม่ ถ้าเคยเห็น ศิลาจารึกมีกี่ด้าน และบอกนักเรียนว่าชั่วโมงนี้จะเรียนเรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง
ขั้นสอน: ครูอธิบายประวัติความเป็นมา ผู้แต่ ความมุ่งหมายในการแต่ง และลักษณะการแต่ง และซักถามนักเรียนเป็นระยะ
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปประวัติความเป็นมา ผู้แต่ ความมุ่งหมายในการแต่ง และลักษณะการแต่ง และให้นักเรียนอ่านเนื้อเรื่องมาล่วงหน้า


ชั่วโมงที่ ๒
ขั้นนำ:
ครูสอบถามนักเรียนว่าได้อ่านเนื้อเรื่องมาหรือไม่ และบอกว่าวันนี้จะเรียนในเรื่องอักขรวิธีในการเขียนคำในสมัยพ่อขุนรามคำแหง และในสมัยปัจจุบัน
ขั้นสอน : ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือหน้าเรียนหน้า ๑๘๖ เพื่อดูลักษณะการเขียนคำ และการอ่านคำในสมัยพ่อขุนรามคำแหง พร้อมทั้งอธิบายอักขรวิธีการเขียนในสมัยพ่อขุนรามคำแหง
ครูให้นักเรียนอ่านคำที่ครูเขียนบนกระดาน ซึ่งคำที่เขียนนั้นเป็นคำในสมัยพ่อขุนรามคำแหง และให้นักเรียนจดลงสมุด
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปการเขียนคำ และการอ่านคำในสมัยพ่อขุนรามคำแหง


ชั่วโมงที่ ๓
ขั้นนำ: ครูทบทวนเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงที่แล้ว
ขั้นสอน: ครูให้นักเรียนอ่านเนื้อเรื่องโดยอ่านออกเสียงร้อยแก้วคนละประมาณ ๔-๕ บรรทัด
จากนั้นครูอธิบายเนื้อเรื่องให้นักเรียนฟัง และซักถามเป็นระยะ โดยอธิบายว่าหลักศิลาจารึกมีทั้งหมด ๔ ด้าน ซึ่งนักเรียนจะได้เรียน ๒ ด้าน คือด้านที่ ๑ และด้านที่ ๔
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปคุณค่า และข้อคิดที่ได้จากเรื่อง


ชั่วโมงที่ ๔
ขั้นนำ: ครูทบทวนเนื้อหา
ขั้นสอน: ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด เรื่องศิลาจารึกหลักที่ ๑ จำนวน ๒ ตอนดังนี้
ตอนที่ ๑ ให้นักเรียนศึกษาคำอธิบายคำศัพท์ และนำตัวอักษรมาเติมหน้าตัวเลข
ตอนที่ ๒ ให้เขียนความหมายของคำที่กำหนดให้
ขั้นสรุป: ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปคุณค่า และข้อคิดที่ได้จากเรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง


สื่อและแหล่งเรียนรู้
๑. หนังสือเรียนภาษาไทย
๒. แบบฝึกหัด
๓. เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องศิลาจารึกหลักที่ ๑


การวัดและประเมินผล
๑. วัดผลการทำแบบฝึกหัด
๒. การแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของนักเรียน
๓. สังเกตความสนใจ และการมีส่วนร่วมในการเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น